What People Say About Aimagin


This page lists some of our customers' opinions about our products and services. We sincerely appreciate all inputs. Thank you so much.

Aimagin Team


"Waijung blockset allow us to rapid development and test of our projects. It is very useful tool for embedded systems teaching process. With it we can use Matlab Simulink in practice most easly."

Mirek Makowski
University of Technology
Faculty of Mechatronics and Aviation
Department of Mechatronics
www.wat.edu.pl
http://www.wmt.wat.edu.pl

"The Waijung toolset allowed us to quickly develop and test a new automotive ECU architecture, fully model based. The tool is a great rapid control prototyping platform at a low cost. We were astonished by the level of support provided by Krisada and his team."

Luca Solieri
Real Time Systems Manager
Alma Automotive s.r.l.
Via Terracini 2/C40131 Bologna (BO) ITALY
www.alma-automotive.it

"Now we more and more realising the possibilities and will changing the way of our solution. I think W2D will help us to realise a powerful solution!"

Jens Baumbach
driveXpert GmbH
www.drivexpert.de

"เหมาะสำหรับใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน และง่ายต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้งบประมาณที่จำกัด...เหมาะกับการสร้างชุดทดลองในห้องแล็ป งานโปรเจ็คนักศึกษา และงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะในสายวิศวกรรมศาสตร์ เช่น สาขาควบคุมอัตโนมัติ สาขาเครื่องมือวัด สาขาอิเล็คทรอนิกส์กำลัง ฯลฯ....."

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิษฐ์ ลิ่วธนกุล
กลุ่มวิจัยพลังงานสีเขียว
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
www.sites.google.com/site/grglaboratory/home

"ผมเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Aimagin โดยเฉพาะ RapidSTM32 Blockset จนมาถึง Waijung Blockset และได้นำมาประยุกต์ในการสอนวิชา Microprocessors and Interfacing กลายเรื่องง่ายในการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาของเรา และก่อให้เกิดแนวความคิดต่อยอดของนักศึกษาในการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้อีกมาก และคงสนับสนุนใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทต่อไปอีกในอนาคต"

อาจารย์ สรรพงศ์ ทานอก
ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
www.fte.kmutnb.ac.th/fteeng/home.asp

"เยี่ยมครับ ผมขอชื่นชมบริษัทเอมเมจินจำกัด ที่ผลิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์อย่างมากที่สามารถช่วยพัฒนางานวิจัยทางด้านระบบควบคุมอัตโนมัติและวิศวกรรมฟื้นฟูทางการแพทย์ให้สะดวกและสำเร็จอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบมือเทียมและแขนเทียมเพื่อการฟื้นฟู การพัฒนาระบบฝึกซ้อมการทรงตัวของมนุษย์เพื่อการฟื้นฟู และผมรู้สึกยินดีกับนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจเกี่ยวกับงานสมองกลฝังตัวที่ได้มีผลิตภัณฑ์ดีดี อาทิ Waijung/STM32F4 หรือ FiO2 Boards ตลอดจนอุปกรณ์เสริมต่างๆอาทิ aMG F4 Connect2 และ aMG USB Converter-N2 มาใช้งานและเรียนรู้ ตลอดจนนำผลิตภัณฑ์ไปพัฒนางานวิจัยในราคาย่อมเยาว์และหาซื้อได้ในประเทศ"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข
Smart Motion Analysis and Rehabilitation Technology Laboratory (SMART Lab.)
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee

"ขอบคุณ บริษัท เอมเมจิน จำกัด ที่พัฒนาการเขียนโปรแกรมในรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ผ่านรูปภาพ หรือ GUI (Graphic User Interface) เพื่อง่าย รวดเร็วต่อการนำไป เรียนรู้ สร้างระบบควบคุม ที่ซับซ้อน โดยผู้ใช้สามารถจำลองการทำงานบนโปรแกรม Matlab Sumulink และลงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ต้นทุนต่ำ โดยใช้เวลาเพียงน้อยนิด"

อาจารย์ ทวีวัฒน์ อาจหาญ
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
tfii.kmutnb.ac.th/TFII/indexen.php?id=HOME

"ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทเอมเมจินมีมาตรฐานอยู่ในระดับสากล แสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถในการออกแบบและพัฒนาด้านเทคโนโลยีของคนไทยที่มีอยู่เต็ม 100 % และมีส่วนทำให้ผู้ใช้สามารถวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็วและต้นทุนต่ำ เป็นการเพิ่มความสามารถอย่างก้าวกระโดดในการแข่งขันให้กับประเทศไทยในระดับนานาชาติ"

อาจารย์ อนันตชัย สุวรรณาคม
ห้องวิจัย ARM, หน่วยวิจัยฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์,
ภาควิชาฟิสิกส์คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
www.sci.nu.ac.th

"Before knowing Fio, embedding "advanced brain signal processing algorithm designed in MATLAB" to the processing unit for real-time processing is the most difficult part in my research. Both Fio Std and Fio Lite surprisingly change the way I interface the brain with the machine. The brain-computer interface (BCI) system from my lab is now ready for healing the world."

Asst.Prof.Yodchanan Wongsawat, Ph.D.
ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์

Director, Brain-Computer Interface Lab
Brain-Computer Interface Vice Chair,
Department of Biomedical Engineering,
Faculty of Engineering,
Mahidol University, Thailand
หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการ
รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe

"บอร์ดที่ทางทีมงาน aimagin พัฒนาขึ้นมาช่วยในการเรียนการสอนในวิชาระบบควบคุมได้มาก ซึ่งนักศึกษาสามารถต่อยอดเป็นโครงงานและงานวิจัยได้ รวมกับการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องของทางทีมงานทำให้ช่วยในเรื่องของการพัฒนาเรียนและการวิจัยได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ..... ภูมิใจในผลงานคนไทยครับ"

ดร.เทิดศักดิ์ อินทโชติ
หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Email and Facebook: control.robot.vru@gmail.com
www.vru.ac.th
www.facebook.com/Aj.Terdsak

"ผมได้ใช้งานความสามารถด้าน Model based Design ของ Matlab/Simulink ในงานวิจัย ส่วนใหญ่ฮาร์ดแวร์จะมีราคาสูง และสร้าง embedded application ได้ลำบาก แต่บริษัทเอมเมจินได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ บอร์ดทดลอง ชุดฝึก ร่วมกับ RapidSTM32 Blockset และ Waijung Blockset ที่พัฒนาโปรแกรมได้ง่าย ทำให้ลดเวลาในการพัฒนาวิจัยได้มาก ราคาย่อมเยา และมีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ด้วยสื่อวิดีโอสอนใช้งาน....ยอดเยี่ยมครับ"

อาจารย์ชาญฤทธิ์ ธาราสันติสุข
Power Electronics and Energy Research Lab (PEER)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
www.ee.rmutk.ac.th

"ผมได้เริ่มใช้ RapidSTM32 Blockset ซึ่งเป็นการพัฒนางานด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เปลี่ยนจากการเขียนโปรแกรมยาวๆ มาเป็นการสร้าง Model ด้วย Matlab/Simulink สามารถจำลองการทำงานได้ ทำให้การพัฒนางานที่ซับซ้อนทำได้สะดวกขึ้น และได้นำไปประยุกต์ใช้ในการสอนในรายวิชา Microcontroller ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยได้ ขอชื่นชมทีมงานผู้พัฒนาและบริษัทเอมเมจิน จำกัดที่ได้สร้างสรรค์ผลงานดีๆ ฝีมือคนไทยมาให้ได้ใช้งาน ขอสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของคนไทยต่อไป"

รองศาสตราจารย์ปิยะ ศุภวราสุวัฒน์
สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
www.kmitl.ac.th

"Wijung และบอร์ด FiO เป็นบอร์ดที่เขียนด้วยภาษากราฟฟิคจึงงานใช้ง่ายและมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถใช้ในการเรียนการสอนทางด้านการควบคุมตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง อีกทั้งมีบอร์ดส่วนต่อขยายหลายประเภท ทำให้ยังแก่การพัฒนาต้นแบบทางงานวิจัยได้หลากหลายอีกด้วย"

รศ.ดร.พีระยศ แสนโภชน์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
www.ee.ku.ac.th

"ผมรู้จักบอร์ด FIO ครั้งแรกที่งานประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 32 ที่ปราจีนบุรี จากการนำเสนอการประยุกต์ใช้งานเบื้องต้นสามารถตอบโจทย์การใช้งานในด้านการวัด บันทึกและควบคุมได้ดีในราคาถูก อีกทั้งสามารถนำไปใช้สาธิตการเรียนการสอนได้รวดเร็ว โดยเชื่อมโยงจากทฤษฎีสู่การใช้งานจริงได้ นอกจากนี้บอร์ด FIO ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นถึงความตั้งใจของทีมพัฒนาซึ่งเป็นคนไทย ผมยังติดตามเป็นกำลังใจและให้การสนับสนุน ในการเติบโตผลิตภัณฑ์ที่มาจากมันสมองของคนไทยตลอดไป"

ดร.ฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล
กลุ่มงานวิจัยระบบตรวจรู้ด้วยกล้องและระบบอัตโนมัติ
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
www.en.rmutt.ac.th/ee2

"1.เป็นบอร์ดที่ใช้งานง่ายสะดวกสบายต่อการใช้งาน
2.ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม
3.นำไปประยุกต์ใช้งานได้ ใช้ควบคุมอุปกรณ์ได้หลายอย่าง
4.นำไปใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนได้ เห็นภาพมากยิ่งขึ้น"

อาจารย์นิติกร มาตา
สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เซนต์จอห์นโปลีเทคนิค
www.stjohn.ac.th/polytechnic/stpoly/index.php

"จากการที่ได้ลองใช้ผลิตภัณฑ์มาสักระยะหนึ่งรู้สึกได้เลยครับว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับงานที่ซับซ้อนสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องสูง ซึ่งผมคิดว่ามีความเหมาะสมมากสำหรับนักศึกษา หรือวิจัย ที่ทำงานวิจัยขั้นสูง อีกทั้งทางบริษัทยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องขอกล่าวชื่นชมทางทีมงานที่ได้สร้างผลิตภัณฑ์ดีๆ แบบนี้ออกมาให้ได้ใช้ครับ และที่สำคัญเป็นฝีมือของคนไทยด้วย..."

อาจารย์ ไมตรี ธรรมมา
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตย์กรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (นครราชสีมา)
www.rmuti.ac.th