ภาษาซี (C - Programming Language)

ภาษาซี (C - Programming Language)


        C - Programming Language หรือ ภาษาซี คือ ภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ออกแบบมาให้สามารถทำงานกับคำสั่งพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

        ภาษาซีพัฒนาขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1969 - 1973 โดย Dennis Rittchie ค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นจนเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกระทั้งปี ค.ศ.1989 มีการกำหนดมาตรฐานของภาษาซีเรียกว่า “ANSI C” ขึ้น และใช้เป็นมาตรฐานในการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ต่อไป เช่น  C++, C#, JAVA เป็นต้น


โครงสร้างอย่างง่ายของภาษาซี

1. ฟังก์ชันหลัก  main( )   เป็นฟังก์ชันที่ไม่มีการรับ - ส่งค่าไปยังฟังก์ชันอื่น ใช้เครื่องหมาย   {    แทนการเริ่มต้น และ    }   แทนการสิ้นสุดฟังก์ชัน สามารถเขียนในรูปแบบ  void main( )  ได้เช่นกัน

2. ใช้เครื่องหมาย      ปิดท้ายคำสั่ง เพื่อบอกให้ compiler ทราบว่าจบคำสั่งแต่ละคำสั่งแล้ว

3. Comment คือหมายเหตุที่ใช้อธิบายเพิ่มเติม ส่วนที่เป็นคอมเมนต์จะไม่ได้รับการแปลผลจาก compiler การคอมเมนต์ทำได้ 2 วิธี คือ ใช้   เพื่อคอมเมนต์บรรทัดเดียว และใช้   /*   และ   */   เพื่อคอมเมนต์หลายบรรทัด


ขั้นตอนการทำงาน

        ขั้นตอนที่ 1  Source code คือ เขียน C Code ขึ้นเพื่อสั่งงาน

        ขั้นตอนที่ 2  Compile คือ นำ C Code มาแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ โดยจะอ่าน C Code ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วแปลผลทีเดียว

        ขั้นตอนที่ 3  Link คือ เชื่อมโยงโปรแกรมภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับ library function ของภาษาซี

        ขั้นตอนที่ 4  Run คือ ประมวลคำสั่งเพื่อแสดงผล 


        ภาษาซีสามารถนำไปใช้งานได้กับทุกระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ เช่น Intel PC,Windows vertion ต่าง ๆ, Linux ,Macintosh เป็นต้น เนื่องจากมี compiler ของภาษาซีอยู่ทั่วไป

        ภาษาซีมีโครงสร้างทางภาษาที่เป็นระบบ แต่ไม่มีฟังก์ชันสำเร็จรูป หากต้องการป้อนคำสั่งอะไรก็ตาม จะต้องเขียนโค้ดเองทั้งหมด หรือเรียก library functions มาใช้งาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากนักสำหรับนักพัฒนามืออาชีพ

        แต่ด้วยข้อจำกัดนั้น อาจเป็นเรื่องยากสำหรับนักพัฒนามือใหม่ หรือผู้ที่ยังไม่เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในการเขียนโค้ดคำสั่งที่ซับซ้อน ดังนั้น Aimagin จึงมีอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อเป็นตัวเลือกที่ทำให้การทำงานง่ายและรวดเร็ว นั่นคือการใช้ “Waijung 2”

        Waijung 2 คือ Simulink Embedded Coder Target Support Package ซึ่งขณะนี้สามารถรองรับ ESP32 microcontrollers ของบริษัท Espressif

        ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับ ESP32 firmware ด้วยเทคนิค Model-Based Design (Matlab Simulink) โดย Waijung 2 จะเข้ามาทำงานแทนเพื่อสร้าง C code, compile และดาวน์โหลดไปยัง ESP32 โดยผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเอง 


        สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.aimagin.com/th/waijung-2.html 


        เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Waijung 2 จะเป็นอีกตัวเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนาที่มีเป้าหมายจะพัฒนาตนเองและพัฒนา IoT ให้ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้นต่อไปในอนาคต 



ข้อมูลอ้างอิง

1. กัลญารัตน์   สถิรสุขสมบูรณ์. (2559). ภาษาซีเบื้องต้น, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จากhttps://bit.ly/3D5eZ2R

2. ลัดดาวรรณ  จันทวงษ์. (2554). ภาษาซี, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://bit.ly/3n4n42z

3. MarcusCode. (2558). ภาษา C, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://bit.ly/3kqOqy0

4. MarcusCode. (2558). โครงสร้างของโปรแกรม, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://bit.ly/3F2cgIc

5. Mindphp. (2560). ภาษาซี (C Programming Language) คืออะไร ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://bit.ly/3n4A2gI

6. Sanook. (2556). ภาษา C, สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://bit.ly/3F2cxLe






Related Posts
  1. Review จากผู้ใช้งานจริงกับความสะดวกที่มาพร้อมกับ Waijung Review จากผู้ใช้งานจริงกับความสะดวกที่มาพร้อมกับ Waijung
  2. PID controller Design and analysis PID controller Design and analysis
  3. Fuzzy Logic Controller Fuzzy Logic Controller
Related Products